วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

จิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน


จิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
นักจิตวิทยาหลายท่านได้ทำการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ ซึ่งแนวคิดบางอย่างได้มีการทดลองจนเกิดเป็นทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ดังเช่น
ธวัชชัย   ชัยจิรฉายากุล (ม.ป.ป.78-79) ได้กล่าวถึงกฎแห่งความใกล้ชิด (Contiguition) มีใจความว่า หากต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้และตอบสนองอย่างไรต่อสิ่งเร้า ต้องจัดสิ่งเร้าให้ใกล้ชิดกับระยะเวลากับการตอบสนองสิ่งนั้นเช่น ในการเรียนรู้การใช้โปรแกรม MS – Window, MS – Word, MS – Excel   หากผู้สอนใช้สื่อที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนและผู้เรียนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับสิ่งเร้านั้น ผู้เรียนจะมีการตอบสนองได้ทันที   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นในระยะเวลานั้น
นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับกฎแห่งการทำซ้ำ (Repetition)   กฎนี้มีใจความว่า หากต้องการให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ และต้องการให้เกิดการเรียนรู้อย่างคงทนและแม่นยำ    ต้องมีการฝึกปฏิบัติซ้ำๆ จนเกิดเป็นทักษะ   การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Auto CAD ก็เช่นเดียวกัน การให้ผู้เรียนได้ฝึกทำซ้ำๆ ตามกระบวนการที่ผู้สอนกำหนด จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะที่คงทน สามารถปฏิบัติได้จนเกิดเป็นทักษะในการปฏิบัติ
ไชยยศ   เรืองสุวรรณ (2546 : 27)  กล่าวถึงทฤษฎีในการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1.              ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear)   โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว
2.              ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบรูปแบบการเรียนรู้
3.              ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหมดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่   มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
4.              ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา(Cognitive Flexibility Theory) เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน
ระบิล   ภักดีผล (2544 : 39-40) กล่าวถึงแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของการใช้เทคโนโลยีช่วยในกระบวนการเรียนรู้
กระบวนการทางปัญญา (Intellectual Skills) คือ กระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
1.              การรับรู้สิ่งเร้า (Stimulus)
2.              การจำแนกสิ่งเร้าจัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด (Concept)
3.              การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive)
4.              การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive)
5.              การสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ (Generalization)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น